ชอตที่ดูเหมือน "ง่าย" แต่อันตราย
ชอตที่ดูเหมือน "ง่าย" แต่อันตราย
ท่านตีลูกหลุดแฟร์เวย์เข้าไปอยู่ในรัฟ ตอนที่มองอยู่ไกลๆ ก็คิดว่าแย่แล้ว แต่เมื่อเดินไปถึงลูกท่านมีความรู้สึกใจชื้นอย่างฉับพลัน เพราะเห็นลูกลอยเด่นอยู่บนยอดรัฟหนา ท่านคิดว่าชอตนี้ตีง่าย แต่ความจริงไลแบบนี้อันตรายที่สุดถ้าไม่ทราบทฤษฎีการตีเท่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำ นักกอล์ฟ “มือพื้นๆ” ส่วนใหญ่ตีชอตนี้เหมือนตีลูกจากไลดีแบบปกติ
ชอตที่ดูเหมือน "ง่าย" แต่อันตราย
เช่น ถ้าเป็นชอตแอปโพรชขึ้นกรีนด้วยเหล็กก็จะตีในลักษณะให้หน้าเหล็กปะทะลูกก่อน ถึงจุดต่ำสุดของ วงสะวิงแบบที่ฝรั่งเรียก descending blow การตีในลักษณะนี้ทำให้ร่องหน้าเหล็ก (groove) ทำงานสร้างแบ็กสปินให้ลูกอย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อท่านตีแบบดีเซ็นดิ้งโบลจากไลที่ลูกลอยบนยอดรัฟก็คือหัวเหล็กตีลอดใต้ลูกสะวิงเต็มเหนี่ยวแต่ลูกอยู่ที่เดิมหรือได้ระยะสั้นจู๋
ยิ่งลูกลอยบนยอดรัฟสูงกว่าพื้นดินข้างล่างมากเท่าใดยิ่งมีโอกาสตีลอดลูกมากขึ้นเท่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าลูกลอยสูงกว่าพื้นดินมากกว่า 2 นิ้วขึ้นไป ขอให้ทราบเถิดว่ามีโอกาสตีลอดลูกได้ทุกครั้ง แล้วจะตีอย่างไรผลงานจึงจะออกมาดี ? คำตอบก็คือ ต้องตีเหมือนตีด้วยหัวไม้ 1 คือตอนนำหน้าไม้เข้าปะทะลูกต้องให้หัวไม้เดินทางเสียดพื้น หรือถ้ามีมุมก็ต้องให้มุมเสียดพื้น (shallow path) ไม่ใช่หัวไม้ตีชันลงมาหาลูก (upright) เพราะถ้าวงสะวิงชันหัวไม้จะตีลอดลูกทันที
การตีแบบเสียดพื้นให้ทำดังนี้
1.จับกริปโช้กดาวน์เพื่อชดเชยกับความสูงที่ลูกลอยพ้นพื้น ลูกลอยสูงมากก็โช้กดาวน์มาก
2.เข้ายืนแอดเดรสโดยวางฐาน ของหัวเหล็กลอยแตะยอดรัฟเบาๆ ให้ฐานของหัวเหล็กอยู่ระดับเดียวกับส่วนล่างสุดของลูกกอล์ฟ
3.ไหล่ซ้ายสูงกว่าไหล่ขวานิดหน่อย (สำหรับคนถนัดขวา)
4. เริ่มต้นแบ็กสะวิงช้าๆ เสียดยอดหญ้า ทำวงสะวิงให้กว้าง และเมื่อดาวน์สะวิงขอให้รักษาตำแหน่งไหล่ซ้ายให้สูงกว่าไหล่ขวาเหมือนตอนแอด เดรส การตีในลักษณะนี้จะได้ดาวน์สะวิงเสียดพื้น ทำให้หน้าเหล็กปะทะลูกเต็มๆ แบบที่ฝรั่งเรียก solid contact
ชอตที่ดูเหมือน "ง่าย" แต่อันตราย
ชอตนี้ทดลองซ้อมตีซัก 10 นาที ก็จะพบว่าไม่ยากเลย