เอรียายอมรับยูเอสวีเมนส์โอเพ่นสุดหินแต่ภูมิใจที่คว้าแชมป์


เอรียายอมรับยูเอสวีเมนส์โอเพ่นสุดหินแต่ภูมิใจที่คว้าแชมป์
            "โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล โปรสาววัย 23 ปี มือ 2 ของโลกเผยยอมรับว่า กอล์ฟยูเอส วีเมนส์       โอเพ่น ยากมากที่สุดเท่าที่เคยเจอมา แต่ก็ภาคภูมิใจที่สามารถคว้าแชมป์ได้สำเร็จ เป็นเมเจอร์ที่สองในการเล่นกอล์ฟอาชีพ และทำได้เมื่อเล่นผ่านตัดตัวเพียงแครั้งที่สองเท่านั้นเอง
            กอล์ฟยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น หนึ่งในห้าเมเจอร์ ของกอล์ฟอาชีพสตรีรายการเก่าแก่ที่สุดจะแข่งขันที่เมืองชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-2 มิถุนายน นี้  มีเงินรางวัลรวม 5 ล้านดอลลาร์หรือราว 160 ล้านบาท  ซึ่ง "โปรเม"เอรียา จุฑานุกาล โปรสาวไทยวัย 23 ปี จะกลับไปป้องกันแชมป์ของเธอ และเธอได้เปิดใจเกี่ยวกับการแข่งขันรายการนี้รวม รวมทั้งสภาพสนามที่ยากมาก แต่ก็ภาคภูมิใจที่ก้าวไปสู่การคว้าแชมป์รายการที่ตนเคยฝันเอาไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเด็กในที่สุดก็ทำได้
            เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่า รายการยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น จะเน้นแข่งขันในสนามที่ยากดังนั้นเมื่อนักกอล์ฟคนไหนสามารถก้าวไปคว้าแชมป์ได้จึงรู้สึกเป็นแชมป์ที่พิเศษอย่างมาก เช่นเดียวกับ เอรียา    จุฑานุกาล ทำได้เมื่อปี 2018
            เอรียา เจ้าของแชมป์อาชีพในแอลพีจีเอทัวร์ 10 รายการ ในจำนวนนั้นเป็นสองแชมป์เมเจอร์ อย่างวีเมนส์ บริติช โอเพ่น ปี 2016 และ ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ปี 2018 ได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมหลังการได้ไปซ้อมเพื่อเตรียมป้องกันแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ว่า "เมไม่คิดเลยว่าจะสามารถทำสกอร์ต่ำในสนามแห่งนี้หลังจากที่เล่นไปสองสามหลุมในวันนี้ เมรู้สึกว่ามันยากมากโดยเฉพาะกรีนมันยากจริงๆ แต่ทีช็อตไม่ยากเพราะว่าแฟร์เวย์กว้าง แต่สนามนี้เป็นหนึ่งในสนามที่ยากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้กรีนกว้าง แต่ต้องต้องขึ้นกรีนให้ถูกตำแหน่ง"
โปรมือ 2 ของโลกยังได้กล่าวอีกว่า "เมชอบสนามนี้มากเพราะมันท้าทายดี เมอยากจะบอกว่า กรีนเป็นปัจจัยสำคัญของสนามนี้เพราะหากขึ้นกรีนถูกตำแหน่งก็สามารถพัตต์ได้ดี การคว้าแชมป์เมื่อปี่ที่แล้วมันมีความหมายกับเมมาก เพราะว่าเมฝันตั้งแต่เด็กแล้วว่าต้องการจะคว้าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น          
เมได้เล่นเมื่ออายุ 13 ปี ซึ่งไม่ผ่านตัดตัวเลยในแต่ละปี แต่พอเมผ่านตัดตัวครั้งที่สองก็คว้าแชมป์ได้เลย มันจึงเป็นสิ่งที่พิเศษมากแค่ผ่านตัดตัวก็ยากมากแล้ว"
เอรียา ยังได้กล่าวถึงสิ่งที่ตัวเธอเองคิดนั้นมองแค่ถึงอนาคต และคิดเกี่ยวกับว่าเธอกำลังจะเล่นอย่างไร แล้วก็คิดให้แต่สิ่งดีๆไม่คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นแต่มุ่งมั่นกับปัจจุบันมากกว่า "เมไม่พยายามคิดเกี่ยวกับสนาม แต่พยายามเป็นตัวของตัวเอง เมมีความสุขที่ได้เห็นนักกอล์ฟคนอื่นเล่นดีเพราะเราทราบดีว่ามันคืออะไรการได้เล่นยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น มันมีความหมายมาก เมเล่นในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และเล่นยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี เมื่อปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่ พอลล่า ครีมเมอร์ คว้าแชมป์ ครั้งนั้น เม รู้สึกว่ายูเอส วีเมนส์ โอเพ่น มันยากมาก เมรู้สึกคงจะไม่ผ่านตัดตัวหรอก เมคิดว่าอาจไม่ผ่านตัดตัวห่างถึง 15 สโตรก แต่เมก็รู้สึกว่ายูเอส วีเมนส์ โอเพ่น มันยิ่งใหญ่มาก"
            เอรียา จุฑานุกาล จะกลับไปป้องกันแชมป์รายการยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ครั้งที่ 74 ที่คันทรี่ คลับ ออฟ ชาร์ลสตัน ที่เมืองชาร์ลตัน รัฐเซาท์แคโรไลน่า ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-2 มิถุนายน นี้  ซึ่งยังไม่เคยมีนักกอล์ฟที่ป้องกันแชมป์ได้เลยตั้งแต่ แคร์รี่ เว็บบ์ โปรชาวออสเตรเลี่ยนในปี 20002001 เป็นคนล่าสุดที่ทำได้
 
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.usga.org
 

 


เกี่ยวกับสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอสจีเอ)
            สมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอจีเอ) ดำเนินการจัดการแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส โอเพ่น (เมเจอร์ชาย) ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์หญิง) ยูเอส ซีเนียร์ โอเพ่น(เมเจอร์ซีเนียร์ชาย) และ ยูเอส ซีเนียร์ วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์ซีเนียร์หญิง) แล้วยังมีรายการชิงแชมป์สมัครเล่น และ แม็ตช์ระดับนานาชาติอีก  10 รายการทำให้นักกอล์ฟ และแฟนจาฟทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
            ยูเอสจีเอร่วมกับเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียนท์ หรืออาร์แอนด์เอ เป็นองค์กรผู้ดูแลเกมกอล์ฟทั่วโลกร่วมกันตั้งกฏกอล์ฟ และ กฎข้อบังคับสถานะนักกอล์ฟสมัครเล่น มาตรฐานอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน และ อันดับคะแนนสะสมโลกของนักกอล์ฟสมัครเล่นพร้อมกับมีอำนาจการทำงานในสหรัฐอเมริกา ดินแดนในความปกครอง และ เม็กซิโก
            ยูเอสจีเอ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการวิจัย พัฒนา และ สนับสนุนการจัดการสนามกอล์ฟอย่างยั่งยืนมากที่สุด ทำหน้าที่ผู้ดูแลเบื้องต้นเกียวกับประวัติศาสตร์เกมกอล์ฟ และ การพัฒนาด้านการลงทุนเกมกอล์ฟผ่านการบริหาร และทำงานของมูลนิธิสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริการวมทั้งการจัดเรตติ้งสนามกอล์ฟ และระบบการจัดแฮนดิแคปที่ใช้กันใน 6 ทวีป
 
No comments yet
ความคิดเห็น

คุณอาจชอบ

บทความล่าสุด

อ่านต่อ >>>

^